สละเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คลังชวนคนชราที่มีฐานะดีสละสิทธิรับเบี้ย

สละเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ – เมื่อวานนี้ (24 กุมภาพันธ์ 2562) เฟชบุ๊ค Ram Chintamas ได้โพสในเฟชบุ๊คกรณี กระทรวงการคลังชวนผู้สูงอายุที่มีฐานะดี สละสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อนำเงินนั้นไปจ่ายให้คนจนที่ลงทะเบียนเพิ่มเป็นเดือนละพัน

โพสนี้ค่อนข้างยาว เพราะได้เล่าถึงความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้นในการจ่ายเบี้ยยังชีพ และยังได้เล่าถึงเรื่องงบประมาณด้วย ซึ่งผมได้นำข้อความนั้นของท่านมาโพสให้อ่านกันที่นี่อีกครั้ง โดยได้จัดวรรคใหม่ อยากบอกว่า นักพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรอ่านอย่างยิ่ง

สละเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

สละเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เห็นด้วยหรือไม่ ก็ควรอ่านให้จบ

กลับมาอีกแหละ เรื่องแชร์ให้สละเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เห็นทีไรก็จิ๊ดขึ้นมาทุกทีๆ ถ้าใครเห็นต่างก็ดราม่า ว่ากันว่า หลักการเค้าดีออกให้คนมีตังค์เสียสละให้คนจน โธ่ๆๆๆ เอาหลักเวทนานิยม มายัดเยียดให้คนเห็นค่าจริยธรรมบ้าบออะไร ส่วนตัวบอกเลยว่าไม่เห็นด้วยมาแต่ไหนแต่ไร

ถ้าใจกว้างก็ตามอ่านฟังดูระลึกเหตุผลแล้วแย้งตามประเด็น ไม่ใช่เห็นก็ดราม่า ไม่อ่านไม่คิดก่อน

อย่างแรก เรื่องเบี้ยยังชีพมันมีความเป็นมา เดิมมันก็ใช้หลักเวทนานิยม ให้ความสงสารเวทนากับคนยากจน รวมกันอยู่สามกลุ่มคือ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยเอดส์ ต้องคัดกรอง มีคนได้จำนวนน้อยเพราะเงินไม่พอ แต่พอโอนงานมาให้ท้องถิ่นเพราะคิดมักง่ายว่าท้องถิ่นมีเงินเยอะ จ่ายคนได้เยอะขึ้น

คราวนี้ก็กล่าวหาว่าท้องถิ่นเอาไปหาเสียง คัดกรองไม่เป็นธรรม คนควรได้ไม่ได้อะไรเทือกนั้น จนสมัยนึง มีนายกคนนึงไปเอางานศึกษาของ TDRI มาแปลงว่าทุกคนที่เป็นผู้สูงอายุต้องได้รับสิทธิ มันก็ดีงาม เพราะมันไม่ใช่ ได้เงินเพราะความสงสาร หรือได้รับทุกขเวทนา

แต่ๆๆๆ ฟังชัดๆ หลักมันคือ ใครอยากได้ต้องแสดงตน. ดังนั้น จึงมีการลงทะเบียนตั้งแต่นั้นมา ใครไม่มาก็แสดงว่าสละสิทธิ มันคือหลักการสากล

พอมาวันนี้มารณรงค์ให้คนลงทะเบียนสละสิทธิ เพราะคนที่คิดมันไม่รู้หรือรู้แต่ทำเป็นไม่รู้จะหมุนเงินที่มันมีอยู่ในกรอบมาใช้เอง

ทำไมน่ะหรือ

ประการต่อมางัย คือวงเงินที่มีอยู่แต่ก่อนถ่ายโอนมาให้ท้องถิ่น มันเป็นวงเงินก้อนน้อยนิด พอให้ท้องถิ่นทำ ก็ถือว่าให้ท้องถิ่นใช้เงินตัวเองสมทบ พอผ่านมาหลายปี เหมาเอาว่าวงเงินนั้นเป็นยอดรวมวงเงินจัดสรรตามสัดส่วน. หลายคนไม่รู้หรอกว่าแต่ละปีๆ ท้องถิ่นมีวงเงินที่ต้องได้รับการจัดสรรไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบกว่าถึงสามสิบกว่า ของรายได้รัฐบาล

เช่นบางปี กำหนดไว้ให้จัดสรรให้ท้องถิ่น ร้อยละยี่สิบห้า ของเงินรายได้รัฐบาล รัฐได้รายได้มา สองร้อยบาท ก็ต้องแบ่งให้ท้องถิ่นห้าสิบบาท เหมาเพื่อไปทำงานทุกรายการ ทั้งถนน ประปา ค่าจ้าง เงินเดือน สารพัด พอโยนงานเบี้ยยังชีพมา เลยเหมารวมว่าเงินที่จ่ายเป็นเงินฝากท้องถิ่นไปด้วย

สรุปห้าสิบบาทต้องเพิ่มรายการเบี้ยยังชีพไปด้วย ของเดิมก็แถบไม่พอจ่ายอยู่แล้ว แถมยังมีคนมาลงทะเบียนรับเงินเพิ่มทุกปี แต่ก็นั่นแหละก็ยังถือเป็นเงินฝากท้องถิ่น

เอาล่ะทีนี่พอมีเงินเหลือ เหลือเพราะอะไร บางคนตายกลางปีงบประมาณไม่ได้จ่าย บางคนลงทะเบียนไว้แต่ยังไม่มารับ ไปต่างประเทศบ้าง ไปอยู่กับลูกต่างจังหวัดบ้าง กรณีนี้ถามว่าเงินยังเป็นสิทธิของเค้าไหม? ในเมื่อเค้าแจ้งความประสงค์แล้วว่าต้องการรับเงิน เงินก็ยังเก็บอยู่กับท้องถิ่น

แต่พวกราชการส่วนกลางทำงานด้านการเงินการคลัง อยากจะมาควบคุมเรื่องนี้เสียเอง ลืมไปหรือแกล้งลืมว่ามันเป็นเงินในสัดส่วนของท้องถิ่น จะมาแขะควักเงินเค้าคืนไปได้อย่างไร แล้วจะเอามาบริหารเอง อ้างว่าเอาไปเฉลี่ยแจกคนจน

ถามว่า เงินที่ทวงคืนกลับไป มันเคยอยู่ในการคำนวนสัดส่วนเงินที่ต้องแบ่งให้ท้องถิ่น ก็เท่ากับสัดส่วนนั้นลดน้อยลง ไม่เป็นไปตามกฎหมาย และหลักการ แย่งไปเอาหน้าอ้างเรื่องประสิทธิภาพ

ถ้ารัฐอยากแจกเงินคนสูงอายุ ก็ต้องหาเงินฟากตัวเองมาทำสิ จะสงเคราะห์ เวทนากันจะกี่มากน้อยก็ทำไป ถึงเงินนี้จะยังไม่ได้จ่ายก็ควรให้ท้องถิ่นเค้าเอาไปบริหารจัดการเพื่อทำงานอื่นในท้องถิ่นเค้าไปก่อน เมื่อมีคนมาขอรับสิทธิเค้าค่อยตั้งงบประมาณชดเชยเอาเอง

วาทะกรรม ที่ว่า ผู้สูงอายุรวยแล้วจะเอาเงินห้าร้อยพันหนึ่งไปทำอะไร. ไปทำอะไรก็เป็นสิทธิของเค้า ถ้าคิดแบบนี้ แน่จริงก็เสนอนโยบายตัดสิทธิผู้สูงอายุที่มีฐานะดูสิ พวกกรรมการผู้สูงอายุทั้งหลายบางท่านที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ก็เพราะท่านไม่เดือดร้อน แต่อยากได้หน้ารึป่าว

เบี้ยประชุมแต่ละครั้งมากมากมายทำไมไม่เสียสละให้คนจนล่ะ ออย่างนี้เรียกแก่กะโหลกกะลา ยิ่งแก่กลับยิ่งดื้อรั้นไม่รับฟังความเห็นคนอื่นงานจึงไม่เดินไปไหนวันๆ ได้แต่แอบอ้างผลงานคนอื่นทั้งที่บางชุดบางกรรมการมีวาระประชุมเรื่องเดียว คือเรื่องเพื่อทราบ. กราบบังคมลาพะยะค่ะ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : แนวทางการรับลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2563

ที่มา : เฟชบุ๊ค Ram Chintamas

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.