การตั้งงบเบี้ยปีงบ 66 มีวิธีการคำนวณยังไง

การตั้งงบเบี้ยปีงบ 66

การตั้งงบเบี้ยปีงบ 66 มีวิธีการคำนวณยังไง ซึ่งผมนำวิธีคิดคำนวณที่ผมเคยนำมาลงไว้เมื่อปีที่แล้วมาให้ดูอีกครั้งหนึ่งครับ วิธีนี้สมาชิกจังหวัดสุโขทัยเคยเขียนอธิบายและนำมาลงในเฟสให้ดูกันแล้ว (ไม่รู้ยังเหลืออยู่มั้ย) คราวที่แล้วผมบอกไม่จบ เพราะผมให้ไปฟังในห้องอบรม เดี๋ยวปีนี้จะอธิบายให้ครบเลย ทางสมาชิกจังหวัดพิจิตรจะได้รู้ด้วย เพราะเห็นถามมาในห้องไลน์ HA HA

การตั้งงบเบี้ยปีงบ 66 ของเบี้ยผู้สูงอายุ

ผมอ้างอิงจากหนังสือซักซ้อมที่เคยออกมานะครับ (เดี๋ยวปีนี้ถ้ามีหนังสือออกมาจะมาอับเดทอีกทีหนึ่ง) เขาให้เราคิดจากการที่ผู้สูงอายุมาลงทะเบียนโดยคิดย้อนหลัง 3 ปี แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย ซึ่งถ้าคิอในปีงบ 66 ก็จะเป็นย้อนหลัง 3 ปี คือปี 65 ปี 64 ปี 63 เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลของเราจากประกาศที่เราทำไว้นั่นเองครับ

ผมสมมติตัวเลขขึ้นมาเป็นตัวอย่างก็แล้วกันครับว่า ปี 65 มีผู้สูงอายุมาลงทะเบียน 108 คน ปี 64 มีผู้สูงอายุมาลงทะเบียน 98 คน ปี 63 มีผู้สูงอายุมาลงทะเบียน 102 คน เราคิดค่าเฉลี่ยโดยการ นำตัวเลขทั้งสามปีมาบวกกันแล้วหารด้วยสาม ได้เท่าไรปัดเศษให้เป็นจำนวนเต็ม ซึ่งตามตัวอย่าง 108 + 98 + 102 = 308 คน (บังเอิญมันลงตัวพอดี ถ้าใครได้ตัวเลขแบบมีจุดให้ปัดเศษ เช่น 308.66 ปัดเป็น 309 ครับ)

ต่อไปเราเอาตัวเลข 308 คน มาคูณกับ 600 บาท และคูณกับ 12 เดือนที่เราต้องจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เขาไป เป็นเงิน 2,217,600 บาท

อันที่สอง ไปดูที่ระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ หน้ารายงาน (ลิ้งค์ใหม่) พอคลิกเข้าไป ระบบจะเปิดไปหน้าใหม่ เราก็ใส่ user กะ password เข้าไป แล้วไปเลือกที่ การเบิก-จ่าย สรุปยอดผู้ได้รับเบี้ยยังชีพแยกตามประเภท เลือกปี 2566 และ 2566/05 แล้วคลิกที่ ค้นหา ได้ผลออกมาคือ

อายุ 60-69 ปี จำนวน 861 คน

อายุ 70-79 ปี จำนวน 377 คน

อายุ 80-89 ปี จำนวน 129 คน

อายุ 90 ปี ขึ้นไป จำนวน 15 คน

เราก็เอาจำนวนเงินที่เขาได้รับคูณจำนวนคน ดังนี้

อายุ 60-69 ปี มี 861 คน คูณ 600 บาท คูณ 12 เดือน เป็นเงิน 6,199,200 บาท

อายุ 70-79 ปี มี 377 คน คูณ 700 บาท คูณ 12 เดือน เป็นเงิน 3,166,800 บาท

อายุ 80-89 ปี มี 129 คน คูณ 800 บาท คูณ 12 เดือน เป็นเงิน 1,238,400 บาท

อายุ 90 ปีขึ้นไป มี 15 คน คูณ 1,000 บาท คูณ 12 เดือน เป็นเงิน 180,000 บาท

รวมทั้งสิ้น 10,784,400 บาท

อย่างที่สามที่ต้องคิดด้วยคือ ผู้สูงอายุที่ยังไม่มาลงทะเบียน ผมสมมติตัวเลขขึ้นมาละกันครับว่า ที่ อบต.ผม มีผู้สูงอายุที่ยังไม่มาลงทะเบียนจำนวน 46 คน แล้วก็เอาจำนวนเงินคือ 600 บาท และจำนวนเดือนคือ 12 เดือน คูณเข้าไปด้วย ได้ตัวเลขออกมาเป็น 331,200 บาท

ข้อมูลอีกชุดหนึ่งที่เราต้องคิดคำนวณเข้าไปด้วยคือ ผู้สูงอายุที่ย้ายเข้ามาในพื้นที่ของเราครับ เขาอายุเท่าไร เราก็เอาจำนวนเงินที่เขาจะได้รับ คูณเข้าไป แล้วก็คูณด้วย 12 เดือนด้วยนะครับ ผมสมมติว่า อบต.ผมมีคนที่ย้ายมาจำนวน 12 คน ช่วงอายุระหว่าง 60-69 ปี รับเงินจำนวน 600 บาท รวมแล้วทั้งปี เป็นเงิน 86,400 บาท

แล้วเราก็นำข้อมูลทั้งสี่ชุดมารวมกัน ได้ดังนี้

จากการคิดย้อนหลังสามปี 2,217,600 บาท

จากระบบสารสนเทศ 10,784,400 บาท

จากผู้ที่ยังไม่มาลงทะเบียน 331,200 บาท

จากผู้สูงอายุที่ย้ายมา 86,400 บาท

รวมกันแล้วได้ 13,419,600 บาท นี่คือยอดของ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ 2566 ที่เราต้องแจ้งไปทางนักวิเคราะห์ให้ตั้งงบประมาณให้เราครับ

การตั้งงบประมาณเบี้ยยังชีพ 2565 มีวิธีการคิดคำนวณแบบไหน

เบี้ยความพิการ มีวิธีการคิดคำนวณตั้งงบประมาณแบบไหน

สำหรับเบี้ยความพิการมีวิธี การตั้งงบเบี้ยปีงบ 66 แบบเดียวกันกับ การตั้งงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุหรือเปล่า ตอบได้เลยว่า คล้ายๆ กันครับ คือ คิดสามปีย้อนหลัง จากคนพิการที่มาลงทะเบียนกับเรา เอาแต่ละปีมารวมกัน แล้วหารด้วยสาม ได้เท่าไรเอา 800 บาทคูณเข้าไป แล้วเอา 12 เดือนคูณเข้าไป จะได้เป็นตัวเลขทั้งปีออกมา

ยอดที่สอง ไปดูในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพครับ เรามีคนพิการอายุน้อยกว่า 18 ปีเท่าไร เอา 1000 บาท คูณเข้าไป เอา 12 เดือน คูณเข้าไป เรามีคนพิการที่อายุมากกว่า 18 ปีเท่าไร เอา 800 บาทคูณเข้าไป เอา 12 เดือนคูณเข้าไป แล้วเอาสองจำนวนมาบวกกัน ได้เป็นตัวเลขออกมาเป็นยอดที่สองและสาม

คนพิการคิดแค่นี้ครับ ส่วนเราจะคิดเผื่อในระหว่างปีงบจะมีคนพิการมาลงทะเบียนอีกมั้ย อยู่ที่แต่ละพื้นที่ครับ มันไม่เหมือนกัน

หลักๆ ก็จะประมาณนี้ครับ ใครอ่านแล้วไม่เข้าใจ ผมแนะนำให้ไปอบรมกับ ม.บูรพา นะครับ วันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2566 นี้ ที่โรงแรมไอโฮเทล จังหวัดขอนแก่นครับ จะได้ถามวิทยากรได้ และได้รับคำตอบแบบตัวต่อตัว

สมัครอบรมออนไลน์รุ่นขอนแก่นกับม-บูรพาที่นี่

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.