การบันทึกข้อมูลเบี้ยยังชีพ ของผู้มีสิทธิรับเงินผู้สูงอายุ ประจำปี 2563

การบันทึกข้อมูลเบี้ยยังชีพ ของผู้มีสิทธิรับเงินผู้สูงอายุประจำปี 2563 – ชัดเจนขึ้นอีกระดับหนึ่ง เมื่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.6/ว 651 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2563 ออกมา

การบันทึกข้อมูลเบี้ยยังชีพ

หนังสือ มท 0810.6/ว 651 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-payment) เพิ่มเติม และการบันทึกข้อมูลผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพิ่มเติม

หนังสือฉบับนี้ อ้างถึง หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.6/ว 185 ลงวันที่ 20 มกราคม 2563 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ครับ

การบันทึกข้อมูลเบี้ยยังชีพ

อ่านรายละเอียดหนังสือ 20 มกราคม ได้ที่นี่

หนังสือนี้บอกให้เราบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศปี 2563 ให้แล้วเสร็จในระหว่างวันที่ 3-25 มีนาคม 2563 แล้วก็บันทึกเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้นนะครับ ส่วนคนพิการมันเป็นข้อมูลในปีปัจจุบันตามการลงทะเบียนอยู่แล้ว

และถ้าบันทึกในปี 2563 แล้วก็ให้บันทึกในปี 2564 (ปัจจุบัน) ด้วย เดี๋ยวเรามาไล่ให้ดูว่า เมนู แต่ละเมนูในหน้าระบบสารสนเทศคืออะไรบ้าง แล้วก็บันทึกย้อนหลังต้องเข้าไปตรงไหน ยังไง แบบไหน มากันเลย

การบันทึกข้อมูลเบี้ยยังชีพ ย้อนหลังและปัจจุบันทำแบบไหน

เราจะมาดูที่เมนู “ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ” ทางด้านซ้ายมือก่อนครับ ด้านล่างลงมาจะเป็นเมนู “ค้นหา” ถ้าเราค้นหาผู้สูงอายุที่นี่ จะเป็นผู้สูงอายุที่มีในระบบปี 2564 ซึ่งเป็นหน้าปกติของระบบ (ระบบเปิดขึ้นมาเพื่อลงทะเบียนล่วงหน้าไง)

ถ้าหากว่าเราอยากจะแก้ไขข้อมูลวันเดือนปีเกิดให้ถูกต้อง หรือมีผู้สูงอายุมาแจ้งเปลี่ยนแปลงวิธีรับเงิน ไม่ว่าจะเป็นจากเงินสดไปเป็นโอนเข้าธนาคาร หรือเปลี่ยนจากการโอนเข้าธนาคารมาเป็นรับเงินสด ท่านสาทารถค้นหาด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน ในเมนูค้นหา แล้วคลิกที่แก้ไขเข้าไปเปลี่ยนแปลงได้เลย

แก้ไขที่หน้านี้เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องเข้าไปแก้ไขในปี 2563 อีกนะครับ

เมนูต่อมาคือเมนู “เพิ่มข้อมูล [ปัจจุบัน]” ก็คือเมนูแก้ไขวันเดือนปีเกิด หรือ แก้ไขวิธีการรับเงินที่ผมพูดไปในย่อหน้าด้านบนตะกี้นี้

เมนูต่อมาคือ “ข้อมูลผู้ได้รับเบี้ยยังชีพย้อนหลัง [2563]” เมนูนี้แหละครับที่เราต้องเข้าไปเพิ่มชื่อผู้สูงอายุที่เราตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้สูงอายุรายนี้ไม่มีชื่อในระบบ 2563/09 จะด้วยสาเหตุว่าลืมหรืออะไรก็ตามแต่ เมื่อไม่มีชื่อก็เพิ่มชื่อเข้าไป

โดยเข้าไปที่เมนู ข้อมูลผู้ได้รับเบี้ยยังชีพย้อนหลัง [2563] แล้วก็ไปกดเพิ่มข้อมูล ซึ่งหน้าจอที่ให้เราบันทึกก็เป็นหน้าที่เราคุ้นเคยนี่แหละครับ ถ้าหากว่าเราเพิ่มชื่อในงบ 2563 แล้ว เราต้องไปบันทึกเพิ่มในหน้างบ 2564 ด้วย

สังเกตุง่ายๆ ครับว่าท่านอยู่ที่เมนูนี้หรือไม่ เมื่อท่านคลิกเข้าไปที่ข้อมูลผู้ได้รับเบี้ยยังชีพย้อนหลัง 2563 จะมีข้อความบอกว่าเป็นผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพย้อนหลัง (รายละเอียดสามารถดูได้ในวีดีโอ)

บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ คลิกที่นี่

เลือกให้ถูกนะเวลาจะเพิ่มข้อมูล หุหุ

แล้วคนที่ย้ายไปแล้วล่ะ คนที่ยังไม่ถึงเวลารับเงินล่ะ แก้ไขข้อมูลได้มั้ย

สำหรับกลุ่มที่ยังไม่ถึงเวลาจะรับเงิน หรือกลุ่มแฮบปี้เบิร์ดเดย์ที่จะได้เริ่มรับเงินเบี้ยยังชีพงวดแรกในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ให้ท่านไปตรวจสอบด้วยว่ามีชื่อในระบบสารสนเทศมั้ย ถ้ามีเลขบัตรถูกต้องมั้ย วิธีตรวจสอบที่ดีที่สุดคือ ใช้เลขบัตรไปค้นหาในเมนูย้อนหลัง เพื่อตรวจสอบว่ามีชื่อมั้ย แล้วก็ต้องเช็คตัวเองด้วยว่าเลขบัตรที่บันทึกไปถูกต้องมั้ย

เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นยังไม่ส่งข้อมูลไปตรวจกับกรมการปกครองนะครับ ถ้าเกิดมีเลขบัตรผิด พอถึงเวลาดึงข้อมูลไปตรวจกับกรมการปกครอง (โดยกรมบัญชีกลาง) จะทำให้คนเหล่านี้ถูกตัดออกจากระบบ กรมบัญชีกลางจะไม่โอนเงินให้ เหมือนที่เราเคยเจอมาก่อนหน้านี้

อีกกลุ่มหนึ่งคือ พวกที่ย้ายออกนอกพื้นที่ของเราแล้ว และเราได้จำหน่ายเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่บันทึกข้อมูลได้ ซึ่งข้อมูลในการรับเงิน หรือวิธีการรับเงินกรมบัญชีกลางจะดึงข้อมูลในหน้าปัจจุบันไปใช้ ถ้าข้อมูลวิธีการรับเงินของเราในปี 63 กับข้อมูลวิธีการรับเงินหน้าปัจจุบันปี 64 ของที่ใหม่ไม่ตรงกัน วิธีการรับเงินของผู้สูงอายุจะผิดพลาด

อย่างเช่น ที่เก่ารับเงินสด ที่ใหม่ไปลงว่ารับแบบเข้าบัญชี เดือนต่อไปผู้สูงอายุรายนี้กรมบัญชีกลางเขาจะโอนเข้าบัญชีนะครับ

ส่วนคนที่ท่านไม่ได้จ่ายเงินให้เขาในปี 2563 แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเขาย้ายไปแล้ว หรือเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติ ให้ท่านจำหน่ายออกจากระบบได้เลยนะครับ

แล้วสิ่งที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมตามหนังสือฉบับนี้คืออะไร

ในแนวทางการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-payment) เพิ่มเติม ที่แนบมากับหนังสือ 3 มีนาคม 63 นี้ บอกแนวทางการดำเนินการมา โดยแยกเป็นประเด็นให้เราเห็นและเข้าใจได้ง่ายๆ อย่างนี้ครับ

ประเด็นที่ 1 การโอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผิดบัญชี เนื่องจากข้อมูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพผิดพลาด

แนวทางการดำเนินการ

1.ถ้าเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดียวกัน ให้ตรวจสอบ แล้วก็เรียกเงินคืน แล้วนำเงินนั้นไปจ่ายให้ผู้มีสิทธิ พร้อมทั้งบันทึกพร้อมเอกสารหลักฐานรายงานผู้บริหารทราบ

2.ถ้าเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีผู้อื่นที่อยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น (ไม่ใช่ อปท.เดียวกัน) ให้ตรวจสอบและให้รายงานข้อเท็จจริง พร้อมเอกสารหลักฐานผ่านจังหวัดมายังกรมส่งเสริม เพื่อประสานกับกรมบัญชีกลางในการเรียกเงินคืน และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เงินตามข้อบัญญัติเบิกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิไปก่อน ซึ่งกรมบัญชีกลางจะโอนเงินคืนคลังต่อไป

ประเด็นที่ 2 เลขบัตรประชาชนของผู้มีสิทธิขึ้นสถานะเป็นผู้รับบำนาญ

แนวทางการดำเนินการ – ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบ ถ้าไม่ได้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางแจ้ง (ไม่ใช่ผู้รับบำนาญ) ให้รายงานข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารหลักฐานผ่านจังหวัดมาที่กรมส่งเสริม เพื่อประสานกรมบัญชีกลางต่อไป

ประเด็นที่ 3 ผู้มีสิทธิรับเงินเสียชีวิตในวันที่ 1 ซึ่งเขามีสิทธิได้รับเงิน แต่กรมบัญชีกลางโอนเงินวันที่ 10 ญาติของผู้มีสิทธิดันไปปิดบัญชี ทำให้วันที่ 10 กรมบัญชีกลางโอนเงินไม่ได้เพราะบัญชีถูกปิด

แนวทางการดำเนินการ – ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการเบิกจ่ายเงินไปก่อน แล้วรายงานให้กรมส่งเสริมทราบ เพื่อประสานกรมบัญชีกลางโอนเงินคืนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป แล้วก็ให้ อปท.ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านทราบด้วยว่า อย่าเพิ่งปิดบัญชีก่อนวันที่ 10 ของเดือน เพื่อจะได้โอนเงินได้

ประเด็นที่ 4 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้บันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ หรือบันทึกเลขบัตรประชาชนผิด

แนวทางการดำเนินการ – ให้ อปท.เบิกจ่ายเงินตามประกาศรายชื่อของ อปท.ในปีงบประมาณ 2563 โดยเบิกจ่ายเงินตามข้อบัญญัติ เมื่อกรมส่งเสริมเปิดระบบให้บันทึกย้อนหลัง 2563 เพิ่มเติม ก็ให้รีบดำเนินการบันทึกข้อมูลปีงบ 2563 และบันทึกในปีงบ 2564 ด้วย เพื่อให้กรมบัญชีกลางเบิกจ่ายให้ในเดือนต่อไป (เหมือนตอนนี้)

ส่วนงบประมาณที่ยังไม่ได้ ให้ อปท.ขอรับงบประมาณไปที่กรมส่งเสริม และให้ผู้บริหารตรวจสอบข้อเท็จจริงและพิจารณาความบกพร่องตามควรแก่กรณี

การบันทึกข้อมูลเบี้ยยังชีพ

ประเด็นที่ 5 วันเดือนปีเกิดของผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพไม่ตรงกับกรมการปกครอง

แนวทางการดำเนินการ – ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบข้อเท็จจริง ถ้าหากว่าข้อมูลถูกต้องแล้ว ให้รายงานข้อเท็จจริงพร้อมแนบเอกสารหลักฐานผ่านจังหวัดมายังกรมส่งเสริม เพื่อที่จะประสานกับกรมบัญชีกลางดำเนินการต่อไป

ประเด็นที่ 6 ถ้าหากว่าในพื้นที่เรามีผู้มีสิทธิรับเบี้ยยังชีพที่บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวทางการดำเนินการ – ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ที่แจ้งความจำนงบริจาคเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แล้วแจ้งไปที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด พร้อมทั้งแนบเอกสารการโอนเงินที่โหลดจากรายงานของกรมบัญชีกลาง แจ้งทุกเดือนนะครับ

ประเด็นที่ 7 การย้ายภูมิลำเนาของผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการระหว่างปีงบประมาณ

แนวทางการดำเนินงาน – ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบข้อมูลการย้ายจากระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพของกรมส่งเสริม หรือจากระบบของกรมบัญชีกลางเป็นประจำทุกเดือน ถ้ามีการย้ายให้ อปท.เดิม จำหน่าย (ย้ายที่อยู่) แล้วแจ้งให้ อปท.แห่งใหม่แจ้งให้ผู้สูงอายุมาลงทะเบียนให้เรียบร้อย (ชมรมพัฒนาชุมชนฯ เคยแจ้งว่า ให้ อปท.เดิมแจ้งทั้งผู้สูงอายุและ อปท.แห่งใหม่)

ส่วนในปีงบประมาณ 2562 ถ้าหากมีการย้ายของผู้สูงอายุ แล้ว อปท.เดิมยังไม่จำหน่ายในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ ทั้งที่ อปท.ใหม่รับลงทะเบียนและประกาศรายชื่อในปีงบ 2563 แล้ว ซึ่งทำให้ อปท.แห่งใหม่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพได้

และแน่นอนว่าปีงบประมาณ 2563 ในระบบที่กรมบัญชีกลางดึงข้อมูลเพื่อไปจ่าย ไม่มีชื่อคนนี้แน่นอน เมื่อไม่มีชื่อย่อมไม่ได้เงิน การแก้ไขคือ ให้ อปท.แห่งใหม่เบิกจ่ายเงินเบี้ยยังชีพตามประกาศรายชื่อของปีงบ 2563 ตามข้อบัญญัติงบประมาณที่ อปท.เราตั้งไว้

ทีนี้ เมื่อกรมส่งเสริมเปิดระบบย้อนหลังให้บันทึกข้อมูล 2563 อย่างตอนนี้แหละ ให้ อปท.เดิมจำหน่ายการย้ายที่อยู่ในระบบสารสนเทศ และให้ อปท.แห่งใหม่บันทึกและปรับปรุงข้อมูลในระบบปี 2563 และ 2564 ให้เรียบร้อย

เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้ และเข้าข่ายข้อนี้ ให้โทรหากันตอนนี้เลยครับ จัดการได้เลย เพื่อกรมบัญชีกลางจะได้เบิกจ่ายเงินในเดือนถัดไป

รายละเอียดในการบันทึกข้อมูล การค้นหารายชื่อ และรายละเอียดอื่นๆ ท่านเปิดวีดีโอนี้ได้เลยครับ ประธานชัชบอกไว้แทบจะครบถ้วนแล้ว

https://youtu.be/PAsd1Tq6oAc

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.