นครนายก มีคนเคยบอกว่า เคยเป็นเมืองในสมัยทวารวดี แต่ผมไม่ค่อยเชื่อสักเท่าไร ด้วยว่าหลักฐานมันไม่ชัด แม้จะมีแนวกำแพงเนินดินที่ตำบลดงละครก็ตาม
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดินแดนแถบนี้เป็นป่ารกชัฎ ทำนาหรือเพาะปลูกอะไรไม่ค่อยจะได้ผลสักเท่าไร แถมไข้ป่ายังชุกชุมอีกด้วย ทำให้คนอพยพหนีไปอยู่ที่อื่นจนเมืองกลายเป็นเมืองร้าง
พอเรื่องนี้ทราบถึงพระมหากษัตริย์จึงให้ยกเลิกภาษีค่านา เพื่อจูงใจให้ชาวบ้านอยู่ทำมาหากินในที่เดิม ไม่อพยพโยกย้ายไปไหน แถมพอมีเรื่องแบบนี้ทำให้ผู้คนจากที่อื่นอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มขึ้นอีก
และเรียกเมืองนี้ว่า เมืองนา-ยก
จังหวัด นครนายก ถือว่าเป็นจังหวัดที่อยู่ใกล้กรุงเทพมากนะครับ ห่างกันแค่ 100 กิโลนี่ถือว่าใกล้ละ เรียกว่าถ้าอยากสัมผัสท้องทุ่งนานี่ ขับรถมาที่นครนายกเจอเลย
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีภารกิจที่ กทม. หลังจากเสร็จภารกิจตอนบ่ายสี่โมงเย็น ผมขับรถไปนอนที่นครนายกครับที่ ภูสักธารรีสอร์ท ใกล้ๆ กับเขื่อขุนด่าน เพื่อร่วมงาน “พอชอนครนายก สานฝันสู่น้อง” กิจกรรมสาธารณประโยชน์ของ ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคกลาง
ผมไปถึงวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2566 ตอนหกโมงเย็นกว่าๆ ครับ ทีมงานชมรมพัฒนาชุมชนภาคกลางพาไปทานข้าวที่ร้านแถวๆ ที่พัก แต่ที่ทำให้แปลกใจคือ ร้านปิดสามทุ่มครึ่ง
ซึ่งผมไม่เคยไปที่จังหวัดนั้น เลยไม่รู้ว่า แถวนั้น หมายถึงจังหวัดนครนายกร้านอาหารเขาปิดแบบนั้น เวลานั้น เหมือนกันทุกร้านมั้ย หรือว่าเป็นเฉพาะแถวที่ท่องเที่ยวอย่างที่ผมไปพัก เหมือนเขากลัวว่าจะรบกวนนักท่องเที่ยว ประมาณนั้น
ส่วนคืนวันที่สอง (วันที่ 18 ธันวาคม 2566) ภาคกลางเขาจัดงานเลี้ยงภายในโรงแรม คนมาร่วมงานเป็นกรรมการภาคกลาง แล้วก็ตัวแทนจากภาคอื่นๆ ประมาณ 50 คน
เท่าที่ผมสังเกตุเครื่องดื่มในงานเลี้ยงทั้งของภาคกลางและภาคเหนือ เขาจัดเครื่องดื่มแบบธรรมดาที่คนอื่นๆ เขากินกันนี่แหละ เบียร์สิงห์ เหล้าหงษ์ ธรรมดาๆ นี่แหละ เพียงแต่ภาคอีสานจัดแบบหะรูหะรากว่าคนอื่นเขา เลยหมดตังค์ไปกับเรื่องนี้เยอะ
ซึ่งคาดว่า ในกิจกรรม 17 ปีชมรมพัฒนาชุมชน ในวันที่ 10-11 ธันวาคมที่จะถึงนี้ คงต้องจัดแบบนี้บ้าง 55555
กิจกรรมงานเลี้ยงเป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้รู้จักกันครับ เพราะชมรมพัฒนาชุมชนแต่ละภาค แต่ละจังหวัด เขาไม่รู้จักกันอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องมีกิจกรรมนี้เพื่อให้ทุกคนรู้จักกัน
ส่วนกิจกรรมมอบทุนการศึกษา และมอบอุปกรณ์ทางการศึกษา ที่จัดในอีกวัน ก็เป็นการไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียนเป้าหมายที่เราจะไปกัน ซึ่งกิจกรรมในวันนี้เป็นการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ และมันแล้วแต่วิทยากรกระบวนการในงานนั้นๆ ด้วย (ว่าจะเลอะหรือไม่)
กิจกรรมพวกนี้เล่นพอหอมปากหอมคอครับ หลังจากนั้นเราก็มอบทุน มอบอุปกรณ์ แล้วก็ทานข้าวร่วมกัน แล้วก็เดินทางกลับ ซึ่งงานที่อีสานก็จะประมาณนี้แหละครับ
—โปรดอย่ารอคอย แต่จงติดตามด้วยความระทึกในหัวใจ—
ฝากติดตาม เพจคนพอชอ ด้วยนะครับ
นักพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รองประธาน ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย)
ลูกของแม่ และเพื่อนของท่าน
Leave a Reply