พันธุกรรมพืช ตอนที่ 1 ผมเชื่อว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทบจะทุกแห่งแหละครับ ในข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ จะต้องมี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างแน่นอน
พันธุกรรมพืชที่ผมพูดถึงผมหมายถึงเรื่องนี้แหละครับ ซึ่งคาดว่าจะมีด้วยกันหลายตอน เลยต้องมี พันธุกรรมพืช ตอนที่ 1 ออกมาก่อน
ผมทำโครงการนี้ในปีงบประมาณ 2565 ซึ่งนักพัฒนาชุมชนคนเก่าเขาทำเรื่องสมัครไปตั้งแต่ปี 2562 แล้วก็ไม่เคยทำอะไรอีกเลยจนผมมารับตำแหน่ง แล้วในข้อบัญญัติมีเรื่องนี้ด้วย เลยดำเนินการ
ผมเริ่มต้นจากตามหาหนังสือตอบรับสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่นก่อนครับ เข้าไปเว็บไซต์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) เจอแต่ รหัสสมาชิกฐานทรัพยากรท้องถิ่น แต่ผมอยากได้หนังสือตอบรับด้วย
เลยโทรถามเครือข่ายพวกเราชมรมพัฒนาชุมชนนี่แหละ ถามจากคนที่เคยทำว่า หนังสือตอบรับอยู่ที่ไหน ยังไง ต้องทำยังไงถึงจะได้มา ซึ่งได้รับคำแนะนำดีมากเลยนะครับ จนกระทั่งได้มาจากเจ้าหน้าที่ที่จังหวัดส่งให้
เมื่อได้หนังสือตอบรับมาแล้ว ผมก็เริ่มศึกษาเรื่องนี้จากคู่มือการดำเนินงาน ซึ่งทำให้ผมทราบว่า กรอบการดำเนินงานและกิจกรรมหรืองานของ อพ.สธ. มี 3 กรอบ 8 กิจกรรม
1.กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร มี 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปกปักทรัพยากร กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวมรวมทรัพยากร กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
2.กรอบการใช้ประโยชน์ มี 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมวางแผนทรัพยากร
3.กรอบการสร้างจิตสำนึก มี 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมที่ 8 นี่แหละครับมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สมัครสมาชิกเข้ามาใน งานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ซึ่งมีอยู่ 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การบริหารและการจัดการ ด้านที่ 2 การดำเนินงาน ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน
และงานที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในองค์กรก็คือ ด้านที่ 2 ซึ่งมางานทั้งหมด 6 งาน ดังนี้
งานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น
งานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น
งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น
งานที่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น
งานที่ 5 งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น
งานที่ 6 งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น
ผมเนี่ยเข้าใจว่า งานที่ 1 ปักเขตพื้นที่เพื่อใช้อนุรักษ์ แล้วก็ทำงานที่ 2 สำรวจเก็บรวบรวมในพื้นที่นั้นเลย ส่วนงานที่ 3 ปลูกรักษา ก็หาพื้นที่ในเขตปกปักนั้นล่ะมาทำ ผมเข้าใจผิดหมดเลย
งานที่ 1 งานที่ 2 งานที่ 3 เป็นการทำงานคนละงาน คนละพื้นที่ แยกจากกัน
คราวหน้าจะมาเล่าให้ฟังครับ ว่างานที่ 1 เขาทำกันยังไง
หน้าที่และความรับผิดชอบของนักพัฒนาชุมชน ตอนที่ 1
นักพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รองประธาน ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย)
ลูกของแม่ และเพื่อนของท่าน