ธนาคารขยะ 100 เปอร์เซนต์ อปท.ทำครบแล้วจริงหรือ ผมเชื่อว่าคนที่ทำงานอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือว่า อปท. คงมีคำตอบอยู่แล้วว่าครบร้อย หรื่อไม่
ที่ผมนำคำถามนี้มาถามเพราะว่า ผมไปเห็นบทความใน มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นพื้นที่ลงโฆษณาของกระทรวงมหาดไทย ลงเรื่องนี้ไว้
พาดหัวตัวโตๆ ว่า “ปลัด มท. ปักธงประกาศความสำเร็จ” แล้วก็มีข้อความขยายว่า “จัดตั้งธนาคารขยะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นครบถ้วน 100 %”
และ “เน้นย้ำทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน”
ในเนื้อข่าวบอกว่า “เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ 7,773 แห่ง ได้ช่วยกันให้ความสำคัญกับการจัดตั้งธนาคารขยะ รวมทั้งสิ้น 14,655 แห่ง…”
…
ถ้าวัดจากการจัดตั้งธนาคารขยะครบทุก อปท. ผมว่า คงครบแหละ เพราะมันต้องรายงานว่าทำไง แต่ถามว่า อปท. อยากทำด้วยใจจริงๆ มั้ย ผมว่าไม่ HA HA
ทำไมผมถึงบอกว่า อปท. รายงานว่าจัดตั้งธนาคารขยะแล้ว ครบ 100 % ก็เพราะว่า ถ้ารายงานไปว่า ยังไม่ทำ จะโดนอะไรอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
เพราะฉะนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงรายงานไปว่า จัดตั้งแล้ว ดำเนินการแล้ว ทั้งที่บางแห่งยังไม่ได้ทำเลย ท่านที่นึกภาพไม่ออก นึกถึง ถังขยะเปียก ครับ
เรื่องนี้มันทำให้ผมนึกถึง จปฐ.
นักพัฒน์ยุค 90 คงจะจำกันได้ว่า เวลาลงสำรวจข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูล จปฐ. แล้วนำมาบันทึกในระบบที่มีการคำนวณให้ว่า ใครจน ใครอยากจน มันจะบอกเลยว่า ใครตกเกณฑ์ ในด้านไหนบ้าง
ผมจำไม่ได้ว่า เกณฑ์ความยากจนเมื่อก่อนมันเท่าไร แต่เดี๋ยวนี้เกณฑ์ความยากจนอยู่ที่ 3,000 บาท ถ้าใครมีรายได้ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน แสดงว่าเป็นคนยากจน
พอมีคนยากจน พอมีคนตกเกณฑ์ จปฐ. เราส่งรายงานขึ้นไป เขาไม่รับ เขาต้องให้เรามาแก้ไขข้อมูลให้ผ่านเกณฑ์ซะก่อน จนอดสงสัยไม่ได้ว่า แล้วจะให้สำรวจทำไม บันทึกข้อมูลเลย
ธนาคารขยะก็น่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันนี้ล่ะครับ ใครส่งข้อมูลไปว่า กำลังดำเนินการ เขาไม่เอา ต้องแจ้งไปว่า ทำแล้ว
ทำหรือไม่ทำ สำเร็จหรือไม่สำเร็จ เราคนทำรู้ดีที่สุด ธนาคารขยะ 100 เปอร์เซนต์ อปท.ทำครบแล้วจริงหรือ
นักพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รองประธาน ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย)
ลูกของแม่ และเพื่อนของท่าน