สรุป ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ฉบับใหม่ปี 2566

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปี 2566 ที่ออกมาบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม 2566 ถือว่าเป็นระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ล่าสุดฉบับเดียว เพราะระเบียบฉบับนี้ยกเลิกระเบียบฉบับเดิมที่มีทั้งหมด

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

มีอยู่ 5 หมวด กับ 1 บทเฉพาะกาล

ข้อ 3 ของระเบียบฉบับนี้ เขายกเลิก ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ฉบับแรก ปี 52 จนถึงฉบับที่ 4 ปี 62 ตอนนี้เหลือระเบียบฉบับนี้ฉบับเดียว

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ หมวดที่ 1

ในหมวดที่ 1 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพ ข้อ 6 ที่ตอนระเบียบออกมาใหม่ๆ ข้อ 6 (4) เป็นที่ถกเถียงกันมากว่า ระเบียบฉบับนี้จะกลับไปใช้แนวทางประชาคมหาคนยากจนที่มีรายได้ไม่พอเพื่อส่งชื่อเข้ารับเบี้ยแล้วหรือ

ข้อ 6 (4) บอกว่า เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

ซึ่ง ณ วันนี้ วันที่แก้ไขบทความนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) ยังไม่มีการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเลย จึงต้องใช้บทเฉพาะกาล ข้อ 18 ซึงบอกไว้ว่า

ข้อ 18 ในระหว่างที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ยังมิได้มีการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามข้อ 6 (4) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้คุณสมบัติผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปพลางก่อน

นั่นหมายความว่า คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุก็เป็นเหมือนเดิมไปก่อน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

หมวดที่ 2 ขั้นตอนการยืนยันสิทธิ

ฉบับเดิมที่ยกเลิกไปใช้คำว่า ขั้นตอนการยื่นคำขอ แต่ในระเบียบฉบับนี้ใช้คำว่า ขั้นตอนการยืนยันสิทธิ และบอกไว้ในข้อ 7 ว่า คนที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ให้มายืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ถามว่า คนที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณหน้า หรือตอนนี้อายุ 59 ปี มายื่นยืนยันสิทธิได้มั้ย ตอบว่า ได้ครับ และเอกสารหลักฐานที่นำมายื่นมี แบบยืนยันสิทธิ และสมุดบัญชีธนาคาร

ไม่มีบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

ระเบียบฉบับนี้บอกให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำข้อมูลผู้สูงอายุล่วงหน้า เทศบาลที่มีสำนักทะเบียนไม่มีปัญหา แต่ อบต. หรือองค์การบริหารส่วนตำบลไม่มีสำนักทะเบียน ต้องขอไปที่สำนักทะเบียนอำเภอ

ซึ่งการขอข้อมูลไปที่ทะเบียนอำเภอ บางอำเภอง่าย บางอำเภอยาก

เมื่อผู้สูงอายุย้าย

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ บอกเรื่องการย้ายภูมิลำเนาของผู้สูงอายุไว้ในข้อ 8 ครับ

ข้อ 8 ในกรณีที่ผู้สูงอายุซึ่งได้รับเบี้ยยังชีพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่ง หรือ กรุงเทพมหานคร ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หรือกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี ให้ผู้สูงอายุนั้นยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร ที่ตนมีภูมิลำเนา

ถ้าย้ายภูมิลำเนา ต้องไปยืนยันสิทธิที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ที่ตนย้ายไป

ในกรณีที่ผู้สูงอายุย้ายภูมิลำเนา ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม หรือกรุงเทพมหานครซึ่งได้จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาแห่งใหม่ของผู้สูงอายุ เพื่อให้แจ้งผู้สูงอายุยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี

ให้ อปท. เดิม แจ้ง อปท. ใหม่ เพื่อจะได้ตามผู้สูงอายุมายืนยันสิทธิ แต่ในทางปฏิบัติ ส่วนมาก อปท. แห่งใหม่จะเป็นคนแจ้ง อปท. เดิมให้จำหน่ายชื่อออกจากระบบให้

ให้ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม หรือกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี ไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่แจ้งย้ายภูมิลาเนา เว้นแต่ผู้สูงอายุนั้นได้ยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร

ถ้าหากว่า ผู้สูงอายุย้ายภูมิลำเนา แล้วไม่ไปยืนยันสิทธิ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปจนสิ้นปีงบประมาณ กรณีนี้ อาจจะมีบาง อปท. ไม่อยากจ่าย ให้ อปท. เดิมจ่ายไปก่อน

ในกรณีที่ผู้สูงอายุได้ดำเนินการยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนถัดไป โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร ต้องได้รับการยืนยันจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม หรือกรุงเทพมหานครก่อน แล้วแต่กรณี

การจ่ายเงินให้ผู้สูงอายุที่ย้าย อปท. ทั้งสองแห่งต้องประสานกัน ป้องกันการจ่ายเงินซ้ำซ้อน

ในกรณีที่ผู้สูงอายุมิได้มาดำเนินการตามวรรคหนึ่งภายในปีงบประมาณที่แจ้งย้ายภูมิลาเนา หากได้ดาเนินการยืนยันสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกครั้งในเดือนถัดไป

ให้สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ดำเนินการจัดทำระบบให้สามารถตรวจสอบการย้ายภูมิลาเนาของผู้สูงอายุระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ โดยให้รายงานผลการตรวจสอบให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมบัญชีกลางทราบ เป็นประจำทุกเดือน

ข้อ 9 หากมีการปรับอัตราการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันไดตามมติคณะรัฐมนตรี ให้มีการปรับอัตราการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ เดือนที่ผู้สูงอายุมีอายุครบช่วงอายุในเดือนถัดไป หากผู้สูงอายุไม่มีวันและเดือนเกิดให้พิจารณาวันและเดือนเกิด ตามมาตรา 16 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ถ้ามีการปรับอัตราการจ่ายเงินตามช่วงอายุ ถ้าอายุครบบริบูรณ์ที่จะจ่ายได้ ให้จ่ายในเดือนถัดไป

หมวดที่ 3 การตรวจสอบและจัดทำทะเบียนประวัติผู้มีสิทธิ

หมวดนี้ มีอยู่ข้อเดียวคือ ข้อ 10 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบสถานะและปรับปรุงข้อมูลของผู้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนไว้ให้เป็นปัจจุบัน ในระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นประจำทุกเดือน

ข้อนี้จะเป็นการรายงานจังหวัดนั่นแหละครับ ต่อไปเราก็ไม่ต้องรายงานจังหวัดแล้ว ในปีนี้เมื่อเดือนกันยายน เราก็ไม่ได้รายงาน

แนวทางการปฏิบัติงานตามระเบียบเบี้ยยังชีพฉบับใหม่

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

รอบนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนละกันครับ คราวต่อไป โพสต่อไปจะเป็นเรื่องอะไร ติดตามได้ทางเพจ คนพอชอ ข อบคุณสำหรับการติดตามครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.