ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ละฉบับแก้ไขข้อไหน เรื่องอะไรบ้าง

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ละฉบับแก้ไขข้อไหน เรื่องอะไรบ้าง เรื่องนี้ผมว่า นักพัฒนาชุมชนที่อยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเนี่ยเข้าใจดีนะ เพราะต้องทำเรื่องนี้แทบจะทุกวันจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น อันนี้คือคนที่ยังจ่ายเงินสดอยู่นะ ส่วนคนที่จ่ายแบบโอนเข้าบัญชีธนาคาร 100 เปอร์เซนต์คงสบายไป

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีมาตั้งแต่ปีไหน

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เราคงต้องเริ่มต้นด้วยปี 52 ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ซึ่งบอกนิยามของคำว่า “ผู้สูงอายุ” หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย

หายสงสัยกันได้แล้วนะครับ ว่าทำไม เราถึงให้เงินเบี้ยยังชีพบุคคลสัญชาติอื่นไม่ได้

ในหมวดที่ 1 เขาบอกคุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพไว้ในข้อ 6 ครับ โดยผู้มีสิทธิจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม 4 ข้อคือ

1.มีสัญชาติไทย

2.มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน (สังเกตุนะครับว่า มีคำว่า ตามทะเบียนบ้าน)

3.อายุหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ลงทะเบียน และยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อสังเกตุคือ ถึงจะอายุ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ไม่ได้มาลงทะเบียนและยื่นคำขอก็ไม่มีสิทธิรับนะครับ

4.ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ (ตัวนี้แหละที่มีปัญหากันอยู่) หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ ยกเว้นผู้พิการหรือผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548

ระเบียบฉบับที่ 2 แก้ไขข้อไหนบ้าง

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ในระเบียบฉบับที่ 1 ปี 2552 หมวด 2 ขั้นตอนการยื่นคำขอ ข้อ 7 ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ให้ผู้ที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีงบประมาณถัดไป ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด โดยมีหลักฐานดังนี้

1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา

2.ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา

3.สมุดเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร

ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ตามวรรคหนึ่ง อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนก็ได้

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในฉบับที่ 2 แก้ไขข้อ 7 ข้อ 8 และข้อ 9 วรรคหนึ่ง ดังนี้

ข้อ 7 ให้ผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปในปีงบประมาณถัดไป ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนา ณ สำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยมีหลักฐานดังต่อไปนี้

1.บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา

2.ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา

3.สมุดเงินฝากธนาคาร พร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประสงค์ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร

ในกรณีที่มีความจำเป็น ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ตามวรรคหนึ่ง อาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนก็ได้

จะเห็นว่า การแก้ไข แก้ไขเพียง ระยะเวลาในการลงทะเบียน จากเดิมลงทะเบียนเดือนพฤศจิกายน เป็นลงทะเบียนทั้งปี ยกเว้นเดือนธันวาคม

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ข้อ 8 เกี่ยวกับการย้ายภูมิลำเนาของผู้สูงอายุ จากเดิม “ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่งย้ายภูมิลำเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดิม ยังคงจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจนกว่าจะสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ ต้องไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ ก่อนสิ้นปีงบประมาณ”

ระเบียบฉบับที่ 2 แก้ไขเป็น “ข้อ 8 ผู้สูงอายุผู้ใดที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ ต่อมาผู้สูงอายุนั้นได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้ผู้สูงอายุนั้นไปลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเองต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ นับตั้งแต่วันที่ย้าย แต่ไม่เกินเดือนพฤศจิกายนของปีนั้นๆ

ทั้งนี้ ให้ได้รับเงินเบี้ยยังชีพจากผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่แจ้งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่จ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุนั้นทราบ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ทั้งนี้ ในระหว่างปีงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิมที่จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นยังคงจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป จนกว่าจะสิ้นปีงบประมาณ”

การย้ายภูมิลำเนา จากเดิม เมื่อย้ายไปที่ใหม่ต้องไปลงทะเบียนก่อนสิ้นปีงบประมาณ คือต้องไปลงทะเบียนภายในเดือนกันยายน ของใหม่แก้ไขเป็น เมื่อย้ายไปที่ใหม่ ต้องไปลงทะเบียนภายในเดือนพฤศจิกายนของปีที่ย้าย ซึ่งเป็นปีงบใหม่แล้ว และมีหนังสือสั่งการตามมาอีกว่า ให้จ่ายย้อนหลังตั้งแต่ตุลาคมไห้เขาเหล่านั้นด้วย

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ข้อ 9 วรรคหนึ่ง เดิม

ข้อ 9 ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ให้จังหวัดแจ้งรายชื่อผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินได้รับเงินสงเคราะห์ตามแบบที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดไปยังกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการขอตั้งงบประมาณในปีงบประมาณถัดไป

แก้ไขเป็น

ข้อ 9 ภานในเดือนธันวาคมของทุกปี ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งบันทึกรายชื่อผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ในระบบสารสนเทศตามที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด พร้อมทั้งรายงานจังหวัดเพื่อส่งให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นใช้เป็นข้อมูลในการขอตั้งงบประมาณและจัดสรรงบประมาณ

ข้อ 9 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องของการรายงานว่าในปีนี้ มีผู้สูงอายุมาลงทะเบียนจำนวนเท่าไร เพื่อแจ้งให้กรมส่งเสริมทราบ และกรมจะได้ขอตั้งงบประมาณต่อไป โดยเปลี่ยนจากการพิมพ์ชื่อรายงานจังหวัดเป็นบันทึกในระบบสารสนเทศ และรายงานเป็นสรุป

ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ฉบับที่ 3 แก้ไขเรื่องคุณสมบัติและวิธีการจ่ายเงิน

[embeddoc url=”https://phorchor.com/wp-content/uploads/2021/03/เบี้ยสูงอายุฉบับ3ปี61.pdf” download=”all” viewer=”google”]

โดยในคุณสมบัติของผู้รับเบี้ยยังชีพ ข้อ 6 วงเล็บ 4 ของระเบียบฉบับที่ 1 ปี 2552 บอกไว่ว่า “ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

แก้ไขเป็น “(4) ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ (ก) ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน (ข) ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ค) ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้เป็นประจำ

บุคลากรตาม (ก) (ข) และ (ค) ไม่รวมถึง ผู้พิการ หรือผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 หรือผู้ที่ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติคณะรัฐมนตรี

ระเบียบข้อนี้แก้ไขเพื่อให้ผู้ที่มีเงินสวัสดิการจากบัตรประชารัฐสามารถรับเงินเบี้ยยังชีพได้

การแก้ไขอีกข้อหนึ่งคือ ข้อ 13 จากเดิมมีสามวรรค ให้เพิ่มวรรคสี่ โดยมีข้อความว่า

การโอนเงินเข้าบัญชีให้กับผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตามวรรคหนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจประสานผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพื่อให้กรมบัญชกลางเป็นผู้ดำเนินการแทนก็ได้

ระเบียบวรรคนี้ที่เพิ่มเติมมา เขาต้องการให้กรมบัญชีกลางโอนเงินให้ครับ แต่ไม่อยากบังคับ พอออกมาไม่มีใครสนใจวรรคนี้เลย สนใจแต่ว่าผู้เฒ่าที่รับเงินจากบัตรประชารัฐสามารถรับเบี้ยยังชีพได้

ระเบียบฉบับที่ 4 แก้ไขวิธีการจ่ายเงินให้ผู้สูงอายุที่ตาย

[embeddoc url=”https://phorchor.com/wp-content/uploads/2021/03/ระเบียบเบี้ยสูงอายุฉบับ4-2562.pdf” download=”all” viewer=”google”]

ดูตามภาพประกอบนะครับ จากเดิมวรรคสอง ของข้อ 13 สุดที่คำว่า “ต้องได้รับการยืนยันว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุยังมีชีวิตอยู่” ฉบับที่ 4 เพิ่มเติมเข้าไปว่า “ณ วันที่ 1 ของทุกเดือน” หมายความว่า เราจ่ายเงินไม่เกินวันที่ 10 ของเดือนใช่มั้ย ถ้าผู้สูงอายุตาย ขอให้เราตรวจสอบว่า ผู้สูงอายุท่านนั้นมีชีวิตอยู่ ณ วันที่ 1 ของเดือนนั้นมั้ย ถ้าอยู่ถึง เราจ่ายเดือนนั้นได้ เดือนต่อไปถึงไม่จ่าย

และในวรรคสี่ ข้อ 13 เปลี่ยนข้อความเรื่องการโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้สูงอายุและโอนเข้า อปท.เพื่อจ่ายเป็นเงินสดให้กับผู้สูงอายุเขาให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนดำเนินการ ซึ่งก็คือ กรมบัญชีกลางนั่นเอง

อ่าน เตรียมความพร้อมจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุและคนพิการ แบบ e-payment ประกอบ

รอบนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนละกันครับ คราวต่อไป โพสต่อไปจะเป็นเรื่องอะไร ติดตามได้ทางเพจ คนพอชอ และ เหน่งพอชอ ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.