ตรวจสอบเบี้ยยังชีพ ในระบบสารสนเทศต้องเข้าไปทำเดือนละสามครั้ง

ตรวจสอบเบี้ยยังชีพ ในระบบสารสนเทศต้องเข้าไปทำเดือนละสามครั้ง – เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2565 ที่ผ่านมาชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) โดยประธานชมรมฯ ได้โพส Youtube เรื่องการตรวจสอบเบี้ยยังชีพในระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพต้องเข้าไปดำเนินการในแต่ละเดือนถึง 3 ครั้งด้วยกัน

ในการอบรมเบี้ยยังชีพที่เขาใหญ่ทั้งสองรุ่นที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2565 และวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2565 วิทยากรได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้เหมือนกันครับ คำว่าระบบสารสนเทศหมายถึง ระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ระบบสารสนเทศ e-Social Welfare ของกรมบัญชีกลาง นะครับ เราจะมาทบทวนเรื่องนี้ไปด้วยกัน

ครั้งที่ 1 ควรจะเข้าไประหว่างวันที่ 1-2 ของทุกเดือน เพื่อทำบันทึกเบิกเงินสด ในรอบนี้เข้าไปที่ระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น โดยเข้าไปที่เมนู “ข้อมูลส่งกรมบัญชีกลาง” เลือกงวดที่จ่ายเป็นเดือนนั้นๆ และเลือกประเภทของผู้มีสิทธิเป็นผู้สูงอายุ หรือพิการ

ตามภาพวีดีโอตัวอย่าง มีผลการค้นหาขึ้นมา 920 รายการ ต้องบอกก่อนว่า 920 ไม่ใช่จำนวนคนนะครับ เพราะบางคนมีสองรายการ รายละเอียดตามวีดีโอครับ

แล้วให้เราเข้าไปตรวจสอบในระบบของกรมบัญชีกลางด้วยครับ โดยเข้าไปที่เมนู รายงาน เลือก สรุปการจ่ายเงิน หรือ ตรวจสอบการจ่ายเงิน ซึ่งมีข้อแตกต่างคือ สรุปการจ่ายเงินจะบอกมาเป็นตัวเลขว่าจ่ายกี่คน กี่รายการ ระงับการจ่ายกี่คน อะไรแบบนี้ครับ ส่วนตรวจสอบการจ่ายเงินจะมีรายชื่อออกมาด้วยว่าจ่ายใครบ้าง รายละเอียดตามวีดีโอเลยครับ

ครั้งที่ 2 ควรจะเข้าไประหว่างวันที่ 5-7 ของเดือนเพื่อทำบันทึกโอนสำหรับกลุ่มที่โอนเงินเข้าบัญชี รอบนี้กรมการปกครองตรวจสอบการตายการย้ายแล้ว กรมบัญชีกลางตรวจบำนาญแล้ว และให้พวกเราเข้าไปที่ระบบ e-Social Welfare ของกรมบัญชีกลาง มาตรวจสอบการจ่ายเงิน เลือกผลการตรวจสอบจากปกครอง ติ๊กช่องจ่าย

ถ้ายอดมันไม่ตรง ไปตรวจดูว่า มีใครที่ระงับการจ่ายมั้ย ดูในระบบของกรมเรามี่ ข้อมูลส่งกรมบัญชีกลาง

ครั้งที่ 3 เข้าไประหว่างวันที่ 11-15 ของเดือนเพื่อบันทึกรายงานการจ่ายเงิน แล้วเก็บไว้ให้ สตง.ตรวจ เลือก ผลการโอนเงิน โอนสำเร็จ จะสังเกตุเห็นว่า ครั้งที่ 1 (วันที่ 1-2 ของเดือน) เราเลือก ข้อมูลก่อนส่งปกครอง ครั้งที่ 2 (วันที่ 5-7 ของเดือน) เราเลือก ผลการตรวจสอบจากปกครอง เข้าครั้งที่ 3 (วันที่ 11-15 ของเดือน) เราเลือก ผลการโอนเงิน

จะเห็นได้ว่าเรา ตรวจสอบเบี้ยยังชีพ ในระบบสารสนเทศทั้งสองระบบ คือระบบสารสนเทศของกรมเราและระบบสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยครับ ถ้าท่านไม่สะดวกกับการดูวีดีโอท่านสามารถไปฟังพร้อมทั้งถามคำถามได้สดๆ ต่อหน้าได้ที่ การอบรมที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจัดขึ้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ครับ

วันที่ 11-13 มีนาคม 2565 นี้ที่โรงแรมสกายวิวติดกับสนามบอลบุรีรัมย์นั่นเองครับ หรือจะ สมัครออนไลน์ที่นี่ ก็ได้ครับ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปีงบ 2565 มีหนังสือซักซ้อมออกมาแล้ว

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.