เปลี่ยนที่ทำงานใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้ใจชิล

เปลี่ยนที่ทำงานใหม่

เปลี่ยนที่ทำงานใหม่ สิ้นเดือนนี้ครบ 6 เดือนพอดีครับ บางคนถามว่า ต้องปรับตัวยังไงบ้าง ผมว่ามันคงไม่ต้องปรับตัวกันมากมายอะไรนะครับ หน่วยงานราชการมันไม่ต่างอะไรกันมากหรอกครับ มันคล้ายๆ กันนั่นแหละ

ทีนี้คำว่า เปลี่ยนที่ทำงานใหม่ มันมีหลายนัยยะนะครับ คนที่สอบได้หัวหน้าฝ่าย คนที่สอบได้ ผอ. เขาก็ย้ายเหมือนกันกับ คนที่ขอโอนย้าย นะ แต่คนที่ขอโอนย้ายเขาเลือกเอง เขาเลือกแล้วว่า เขาจะไปอยู่ที่นี่ เขาจะไปอยู่ที่นั่น

ที่นี่ ที่นั่น ที่เขาเลือก เขาตรวจสอบมาแล้ว แถมยังตรวจสอบมาเป็นเวลานาน และไม่ใช่มีที่เดียวที่เขาเลือก เขามีหลายที่เปรียบเทียบกัน และมีเวลามากมายในการตรวจสอบข้อมูลก่อนที่เขาจะตัดสินใจเลือก ไม่เหมือนกับคนที่สอบได้นะครับ นั่นเขามีเวลานิดเดียวในการตัดสินใจ

แถม อปท.ที่เลือกไว้ในใจ พอเวลาไปเลือกจริงๆ รายชื่อที่มีให้เลือกไม่ตรงกับที่รู้มา หรือตรง แต่ที่เราหมายตาไว้ คนที่สอบได้ลำดับที่ดีกว่าเราดันเลือกไปก่อนซะนี่ ได้แต่ไลน์ถามเพื่อนว่า กูต้องเลือกที่ไหนถึงจะดีวะ

และคำถามที่มักโดนถามบ่อยๆ สำหรับคนที่อยู่นอกห้องเลือกที่ลงและคอยตอบไลน์คือ ที่นี่นายกดีมั้ย HA HA

ถ้ามีเวลาให้ผมแนะนำแบบยาวๆ ผมอยากจะบอกว่า อย่าถามถึงแค่นายก ควรถามถึงคนอื่นๆ ด้วย ผมเห็นมาบ่อยที่อยู่ไม่ได้ แต่ไม่เกี่ยวกับนายก แต่เป็นคนอื่นที่ทำงานนั่นแหละ ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าตัวเอง ผอ.กอง หรือแม้กระทั่งปลัด รองปลัด

เมื่อย้ายไปอยู่ในที่ทำงานแห่งใหม่ คนที่ขอโอนย้ายจะได้เปรียบคนที่ต้องเลือกว่าจะไปที่ไหน โดยมีเวลาพิจารณาไม่นาน ส่วนมากก็จะถามเพื่อนพ้องน้องพี่อย่างที่ผมเล่าไว้ด้านบน นอกนั้นต้องเลือกเองครับ เช่น ตั้งใจว่าจะไปอำเภอนี้จังหวัดนี้ แต่ดันไม่ว่างให้เลือก ต้องเลือกจังหวัดแทน หรือจังหวัดไม่ว่างต้องเลือกเป็นภาคแทน

เพราะฉะนั้น บรรดาหัวหน้าต้องปรับตัวเยอะหน่อย แต่ผมเชื่อว่ามันจะผ่านไปได้

ส่วนคนที่ขอโอนย้าย มันก็จะชิลหน่อย ไปอยู่ในหน่วยงานราชการ และเป็นราชการส่วนท้องถิ่นเหมือนกัน มันไม่ต่างกันมาก จะต่างกันก็คงจะเป็น วัฒนธรรมองค์กร เท่านั้นเองครับ ซึ่งแต่ละภาคมันไม่เหมือนกัน ถ้าย้ายภายในจังหวัดยิ่งสบาย

ยกตัวอย่างเช่น การมาทำงาน การลา เวลากลับ อาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละที่ หรืออาจจะเหมือนกันบ้าง ในแต่ละ อปท.

บาง อปท. นายกอาจจะซื้อกล้องวงจรปิดมาติดที่ อปท. ด้วยเงินตัวเอง เพราะอยากรู้ว่าพนักงานมาทำงานตอนไหน กลับเวลาใด เป็นต้น

ผมว่าที่ต้องปรับตัวในที่ทำงานใหม่ คงเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานมากกว่าครับ ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องหนักหนาอะไร ไม่เกินหนึ่งเดือนน่าจะเข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ยล่ะครับ ไปไหนมาไหนด้วยกันตลอดแหละ

ยิ่งใช้เครื่องดื่มเป็นตัวเชื่อม เป็นตัวประสาน ยิ่ง…..

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเขียนโครงการ สิ่งที่นักพัฒนาชุมชนต้องทำให้เป็น

เฟสบุ๊คชมรมพัฒนาชุมชน

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.