แนวทางการเบิกเงินค่าฝึกอบรม ของท้องถิ่น

แนวทางการเบิกเงินค่าฝึกอบรม

แนวทางการเบิกเงินค่าฝึกอบรม – ที่พวกเราที่ทำงานอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครไปอบรมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ นั่นแหละครับ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา กระทรวงมหาดไทยออกหนังสือมา

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2 / ว4930 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการฝึกอบรมกรณีหน่วยงานอื่นเป็นผู้จัดฝึกอบรม แจ้งแนวทางมาเนื่องจาก ระเบียบการฝึกอบรมฉบับเก่า ปี 49 ยกเลิก

ตอนนี้เราใช้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2557 และทางกระทรวงอาศัยระเบียบข้อ 5 ยกเลิกหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0808.2 / ว4952 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2556

และกำหนดแนวทางปฏิบัติ กรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะส่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานอื่น เอาง่ายๆ คือ เมื่อเราสมัครอบรมหลักสูตรต่างๆ กับมอ หรือมหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องพิจารณาเรื่องเหล่านี้ครับ

ข้อหนึ่ง ต้องดูที่หน่วยงานที่เป็นผู้จัดฝึกอบรมครับ ว่ามีผลงาน มีประสบการณ์มากน้อยเท่าใด ซึ่งเรื่องพวกนี้ไม่ค่อบมีปัญหากับพวกเราหรอกครับ เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยที่จัดฝึกอบรม เขามีประสบการณ์อยู่แล้วครับ

เรื่องผลงานและประสบการณ์เขารวมถึงวิทยากรด้วยนะครับ ข้อนี้ผมว่าพวกเราผู้สมัครเข้าอบรมดูก่อนผู้อนุมัติซะอีก ถ้าวิทยากรเรื่องที่เราจะเข้าฝึกอบรมเป็นคนที่เราไม่มั่นใจ เราก็คงไม่สมัครเข้าอบรมหรอก

อย่างวิทยากรที่บรรยายเรื่อง ระเบียบเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพ ชั่วโมงนี้คงไม่มีใครเหนือไปกว่าประธานชมรมพัฒนาชุมชนฯ และทีมงานไปได้ ปีนี้รับบรรยายสามมหาวิทยาลัย ได้ข่าวว่าปีหน้าจะลดลงเหลือแค่สอง จริงไม่จริงไม่รู้ HA HA

ข้อสอง เขาบอกว่า ถ้าหากว่ามีหน่วยงานที่อ้างว่า จัดฝึกอบรมร่วมกับมหาวิทยาลัย หรือหย่วยงานของรัฐ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องว่าจริงมั้ย อย่างเช่น โครงการฝึกอบรมงานสวัสดิการที่ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) ร่วมกับ มสธ. และ ม.บู

ในปีงบประมาณ 2567 นี้ ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) ร่วมมือกับหน่อยงานราชการจัดฝึกอบรมจริง ดังนี้ครับ

ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ มสธ.

ภาคอีสานร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพา หรือ ม.บู

ข้อสาม เขาให้ผู้มีอำนาจอนุมัติของท้องถิ่น ตรวจสอบดีๆ ว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะไปฝึกอบรมนั้นมั้ย เช่น ไม่ได้มีหน้าที่จัดประชุมสภา แต่ขออนุมัติไปอบรมเกี่ยวกับการประชุมสภา อย่างนี้ผู้อนุมัติควรพิจารณาให้ดีครับ

ที่พิจิตร พี่เสือเขาดูสัญญาและเอกสารประกอบอื่นๆ กรณีลูกจ้างภารกิจไปอบรม อย่างเช่น ดูสัญญาว่า อบต.ให้ทำงานเรื่องอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นหลักสูตรที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของเราไม่ต้องไปนะครับ

ข้อสี่ และข้อห้า ผมขอข้ามไปไม่พูดถึงในรายละเอียดครับ ซึ่งส่วนมากพวกเราไม่ค่อยเจอเคสแบบนี้สักเท่าไร ถ้านักพัฒน์ไปส่วนมากจะไปยาวหนึ่งเดือนหรือสามสัปดาห์เลย ไม่ค่อยมีไปอาทิตย์นี้แล้วหยุดไปอีกทีอาทิตย์โน้น แบบนี้ส่วนมากจะเป็นนายกมากกว่า

ข้อหก เขาแจ้งมาว่า โครงการฝึกอบรมหลักสูตรที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เบิกค่าลงทะเบียนไม่ได้นะครับ เช่น หลักสูตรกฏหมายปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครองตามมาตรฐานที่คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) รับรอง อันนี้นักพัฒน์ไม่ไปอยู่แล้ว HA HA

ข้อเจ็ดและข้อแปด ผมขอข้ามไปเหมือนกันครับ ส่วนมากท้องถิ่นเราไม่ค่อยมีกรณีอย่างนี้ (มีแหละแต่น้อย) จะขอพูดถึง ข้อเก้า ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องมีในการขออนุมัติเข้ารับการฝึกอบรม

นั่นก็คือ แบบแสดงเจตจำนงในการนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงาน ตามเอกสารหมายเลข 1 สำหรับข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง พนักงานจ้างขององคืกรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกสารหมายเลข 2 สำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น

วิธีเขียน ง่ายมากครับ หน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ก็ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับไปดูที่ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และอย่าลืมเน้นข้อความที่เกี่ยวกับหลักสูตรที่เราขอไปอบรมนะครับ

ตรวจสอบมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ที่นี่

ส่วน ความรู้ที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกอบรม ก็ลอก ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากโครงการอบรมมาเลยครับ ช่องทางขวา แนวทางการนำมาใช้ ก็คล้ายๆ กันครับ

ข้อสิบ ก็คือการรายงานผลการฝึกอบรมที่เราทำกันอยู่ แต่หนังสือฉบับนี้เขากำหนดแบบฟอร์มมาให้ว่า การรายงานผลต้องทำตามเอกสารหมายเลข 3 อันที่จะยากหน่อยคือ ข้อ 7 สรุปเนื้อหาในการฝึกอบรม แต่สมันนี้ ม. ที่จัดอบรมเขามีให้ครับ ไม่ยาก

ไปอบรมกับ ม.บู นะครับ มีเอกสารรายงานผลการฝึกอบรมให้ด้วย แนวทางการเบิกเงินค่าฝึกอบรม

ตรวจสอบรุ่นที่อบรมที่นี่

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.