ผู้สูงอายุย้าย ระเบียบใหม่ใครจ่าย

ผู้สูงอายุย้าย ระเบียบใหม่ใครจ่าย

ผู้สูงอายุย้าย ระเบียบใหม่ใครจ่าย – ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 บอกไว้ในข้อ 8

และในหนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว 8029 บอกเรื่อง ผู้สูงอายุย้าย ระเบียบใหม่ใครจ่าย ไว้ในข้อ 5

เรามาดูข้อ 8 ในระเบียบก่อนครับ

ข้อ 8 ในกรณีที่ผู้สูงอายุซึ่งได้รับเบี้ยยังชีพจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหนึ่ง หรือกรุงเทพมหานคร ได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หรือกรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณี ให้ผู้สูงอายุนั้นยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร ที่ตนมีภูมิลำเนา

ในกรณีที่ผู้สูงอายุย้ายภูมิลำเนา ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม หรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาแห่งใหม่ของผู้สูงอายุ เพื่อให้แจ้งผู้สูงอายุยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี

ให้ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม หรือกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณที่แจ้งย้ายภูมิลำเนา เว้นแต่ผู้สูงอายุนั้นได้ยืนยันสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร

ในกรณีที่ผู้สูงอายุได้ดำเนินการยืนยันสิทธิการรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร จ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนถัดไป โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งใหม่ หรือกรุงเทพมหานคร ต้องได้รับการยืนยันจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเดิม หรือกรุงเทพมหานครก่อน แล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้สูงอายุมิได้มาดำเนินการตามวรรคหนึ่งยในปีงบประมาณที่แจ้งย้ายภูมิลำเนา หากได้ดำเนินการยืนยันสิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกครั้งในเดือนถัดไป

ให้สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง ดำเนินการจัดทำระบบให้สามารถตรวจสอบการย้ายภูมิลำเนาของผู้สูงอายุระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ โดยให้รายงานผลการตรวจสอบให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและกรมบัญชีกลางทราบ เป็นประจำทุกเดือน

แปลจากภาษาราชการออกมาเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่าอย่างนี้ครับ

เมื่อผู้สูงอายุย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ใหม่ ให้ผู้สูงอายุไปยืนยันสิทธิกับที่ใหม่ และให้ที่เก่า แจ้งไปยังที่ใหม่ ว่ามีผู้สูงอายุย้ายเข้ามา เพื่อที่ใหม่จะได้แจ้งผู้สูงอายุให้มายืนยันสิทธิ เพื่อรับเงินต่อในเดือนถัดไป โดยที่เก่าจำหน่ายชื่อผู้สูงอายุออกจากระบบเพื่อให้ที่ใหม่บันทึกในระบบสารสนเทศได้

แต่ถ้าผู้สูงอายุที่ย้ายไม่ได้ไปยืนยันสิทธิกับที่ใหม่ ให้ที่เก่าจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปจนสิ้นสุดปีงบประมาณ ถ้าผู้สูงอายุไปยืนยันสิทธิที่ใหม่ต้องจ่ายในเดือนถัดไปโดยที่เก่าที่ใหม่ต้องแจ้งกัน

ตัวอย่างเช่น ย้ายจากที่เก่าไปที่ใหม่เดือนเมษายน แต่ไม่ได้ไปยืนยันสิทธิทันที จะลืมหรือไม่รู้ก็ตาม ไปยืนยันสิทธิอีกทีเดือนสิงหาคม ที่ใหม่ต้องจ่ายให้เขาเดือนกันยายน อย่างนี้เป็นต้น

ระเบียบเขาถึงบอกไงครับว่า ที่เก่าต้องเป็นผู้ที่แจ้งที่ใหม่ เพราะที่เก่ามักจะรู้อยู่แล้วว่าผู้สูงอายุย้าย อย่างน้อยก็รู้จากการตรวจสอบของกรมบัญชีกลางที่แจ้งเรามาหล่ะ เราก็ตรวจสอบต่อว่าย้ายจริงมั้ย ย้ายไปไหน แล้วก้แจ้งที่ใหม่ไป

น่าจะเข้าใจกันเนาะ เหมือนกับคนพิการย้ายนั่นแหละครับ ซึ่งพวกเราหลายคนเคยบอกว่า ทำไมไม่ทำเหมือนคนพิการ ย้ายแล้วไปรับที่ใหม่เลย ตอนนี้จัดให้แล้วครับ

เพียงแต่กรณีผู้สูงอายุอาจมีการเถียงกันบ้างระหว่างที่เก่ากับที่ใหม่ เนื่องจากระเบียบเขียนไว้สองอย่าง

เมื่อผู้สูงอายุย้ายออก ที่เก่าก็ไม่อยากจ่าย ที่ใหม่ยิ่งไม่อยากจ่ายเพราะไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้ ผมเดาว่าอาจมีบางแห่งไปคุยกับผู้สูงอายุว่า อย่าเพิ่งมายืนยันสิทธินะ รับที่เดิมไปก่อน 5555555

ระเบียบเบี้ยผู้สูงอายุฉบับใหม่

หนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบ

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.