ระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ ที่พวกเรานักพัฒนาชุมชนหรือผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องเบี้ยยังชีพทั้งของผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยเอดส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องทำการบันทึกข้อมูลและจัดการฐานข้อมูลของบรรดาผู้ที่รับเบี้ยยังชีพทุกประเภทในนี้ทั้งหมดครับ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ ระบบสารสนเทศการจัดการฐานข้อมูลเบี้ยยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ ขอรหัสยังไง บันทึกแบบไหน
ต้องบอกว่านักพัฒนาชุมชนที่บรรจุมานานมากแล้ว ซึ่งตอนนี้คงขึ้นเป็น ผอ.กันหมดแล้วเนี่ย จะได้รับชื่อผู้ใช้ หรือ user และรหัสผ่านหรือ password อปท.ตัวเองเมื่อคราวไปอบรมการใช้งานระบบเมื่อกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว และตอนนี้คงส่ง user และ password ต่อให้กับนักพัฒนาชุมชนที่เป็นผู้ปฏิบัติบันทึกข้อมูลต่อ
เขาเหล่านั้นไม่น่าห่วงเท่าไรหรอกครับ บันทึกเป็นแน่นอน แต่กลุ่มที่เปลี่ยนสายงานมาเมื่อไม่นานนี่สิน่าห่วง กลัวว่าจะพากันบันทึกไม่เป็น ผอ.ก็ไม่เป็น ลูกน้องก็ไม่เป็น
เอางี้ละกันครับ อันดับแรกให้คุณเข้าไปที่เว็บ welfare ก่อนละกันเดี๋ยวจะบอกวิธีบันทึกข้อมูล
เริ่มต้นบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพ
เมื่อคุณเข้าเว็บไปคุณจะเห็นระบบมันแจ้งเตือนให้คุณ login เข้าระบบ และบอกว่าคุณสามารถบันทึกได้จนถึงวันที่เท่าไหร คุณคลิกตกลงแล้วใส่ชื่อผู้ใช้ซึ่งกรมส่งเสริมฯ ให้มาเป็น “ตัวเลข” นะครับ แล้วก็รหัสผ่าน ปกติให้มาเป็น password ท่านก็ไปเปลี่ยนเอง พอใส่เข้าไปแล้วกดที่ “เข้าสู่ระบบ” เพื่อเข้าไปบันทึกข้อมูลกันครับ
ด้านล่างของหน้าจอนี้จะมีคู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศเบี้ยยังชีพให้เราโหลดไปศึกษา (โหลดไปอ่านกันบ้างมั้ย) และมีแอพสำหรับโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ให้โหลดไปติดตั้งด้วย
หน้าจอต้อนรับจะเป็นคำกล่าวทักทาย ยินดีต้อนรับ และตามด้วย ชื่อของเรา ถ้าเรามองไปทางมุมขวามือบนก็จะเห็นชื่อของเราและชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเรา แต่ถ้าใครมองไม่เห็นก็ให้เพิ่มข้อมูลเข้าไปโดยคลิกที่เมนู ข้อมูลผู้ใช้งานระบบ ==> ข้อมูลส่วนตัว แล้วเลื่อนลงมาด้านล่างคลิกที่ แก้ไขข้อมูล
จากนั้นก็เพิ่มข้อมูลเข้าไปเลยครับ ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เพศ วันเดือนปีเกิด อีเมล์ ที่สำคัญคือ เบอร์ติดต่อ ให้ท่านใส่เบอร์มือถือของท่านนั่นแหละครับลงไป เพื่อความสะดวกในการติดต่อประสานงานทั้งจากกรมส่งเสริมฯ และจากเพื่อนนักพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง อย่างเช่น การติดต่อประสานงานเวลามีคนพิการ หรือผู้สูงอายุย้ายออกนอกพื้นที่ หรือเรื่องอื่นๆ เช่น มีผู้สูงอายุไปร้องเรียนว่าคุณไม่จ่ายเงินเบี้ยยังชีพให้เขา กรมอาจจะโทรหาคุณก่อนเพื่อสอบถามรายละเอียด อะไรอย่างเนี้ย
เพิ่มข้อมูลเสร็จแล้วอย่าลืมกดบันทึกนะจ๊ะ
เข้ามาแล้วควรเปลี่ยนรหัสผ่าน
รหัสผ่านที่ทางระบบให้มาเป็นรหัสผ่านที่ไม่ค่อยปลอดภัยสักเท่าไร เพราะฉะนั้นเราจึงควรเปลี่ยนรหัสผ่านให้เป็นที่รับรู้เฉพาะเราที่เป็นคนทำงานคนเดียว แต่ย้ำว่าต้องจำให้ได้ด้วยนะ เพราะถ้าใส่รหัสผิดเกินสามครั้ง ระบบจะล็อกอัตโนมัติ คุณจะเข้าระบบไม่ได้อีกเลย ต้องแจ้งแอดมินให้ปลดล็อกให้ ฉะนั้นเปลี่ยนแล้วจำให้ได้
เปลี่ยนรหัสผ่านเข้าไปที่เมนู “ข้อมูลผู้ใช้งานระบบ” คลิกที่ “เปลี่ยนรหัสผ่าน” การเปลี่ยนรหัสผ่านคุณจะต้องรู้รหัสผ่านเก่าด้วยนะครับ ใส่รหัสเก่าลงไปก่อน แล้วตามด้วยรหัสใหม่ที่เราจะเปลี่ยน และยืนยันด้วยการกรอกรหัสใหม่อีกครั้งหนึ่ง เสร็จแล้วกดตกลง ย้ำอีกครั้งว่า เปลี่ยนรหัสผ่านแล้วจำให้ได้นะครับ
ผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพบันทึกแบบไหนยังไง
ในเมนู “ผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพ” จะมีเมนูย่อยคือ “ค้นหา” “เพิ่มข้อมูล [ปัจจุบัน]” แล้วก็ “ข้อมูลส่งกรมบัญชีกลาง” ซึ่ง ณ วันนี้ถ้าเราจะบันทึกข้อมูล ให้คลิกที่เมนู “เพิ่มข้อมูล [ปัจจุบัน]” แล้วก็กรอกข้อมูลตามรายที่ที่เราเห็น หรือ ถ้ามีคนมาลงทะเบียนเราอาจจะใช้วิะีเสียบบัตรประชาชนให้ระบบอ่านให้ แล้วเพิ่มข้อมูลบางส่วนเข้าไป
เมนู “ค้นหา” เมื่อเราคลิกเข้าไปจะเจอหน้าจอตามที่เห็นในภาพประกอบ มีช่องชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ให้เรากรอกเพื่อค้นหาคนที่เราบันทึกข้อมูลไปแล้ว การกรอกข้อมูลค้นหากรอกเพียงชื่อ หรือนามสกุล หรือเลขบัตรก็ได้ครับ กรอกเสร็จคลิกที่ค้นหา ระบบก็จะค้นหาให้เรา
อาจจะขึ้นมาสองสามชื่อ ก็ไล่ดูเอาว่ามีคนที่เราต้องการอยู่มั้ย บางทีอาจมีการแก้ไขเนื่องจากผู้รับเบี้ยยังชีพย้ายที่อยู่ แนะนำว่าควรค้นหาด้วยเลขบัตรประชาชนดีกว่าครับ (อ่านรายละเอียด ระเบียบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้ที่นี่)
เมนู “ข้อมูลส่งกรมบัญชีกลาง” เป็นเมนูที่เราใช้ตรวจสอบว่า ผู้สูงอายุ คนพิการที่จะรับเงินในเดือนนี้มีใครบ้าง โดยเลืกดูได้ว่าจะดูเดือนไหน โดยใส่ตัวเลขลงไปในช่อง งวดที่จ่าย เช่น 256604 คือ เดือนเมษายน 2566
ตรวจสอบได้ยังไงว่าใครได้รับเบี้ยบ้าง
หลายครั้งเหมือนกันที่เราเจอปัญหาผู้สูงอายุไม่ได้เงิน พอเรามาตรวจสอบที่ข้อมูลส่งกรมบัญชีกลาง อ้าว ระบบเขาก็แจ้งไว้นี่นา เป็นเพราะว่า เลขบัตรประชาชนไม่ถูกต้อง อันนี้เราก้แจ้งผู้สูงอายุไป แล้วแก้ไขในระบบของเรา
แต่มันจะมีบางครั้งครับ ที่ระบบมันไม่บอกมาว่า คนคนนี้ไม่ได้เงินและเป็นเพราะอะไร ทำให้เราบอกสาเหตุไม่ได้ อันนี้แหละครับที่เป็นปัญหา
บางคนดูข้อมูลไม่เป็น โดยเฉพาะนักพัฒนาชุมชนที่เพิ่งบรรจุ สอบถามผมมาหลายราย ผมเองก็ไม่ได้เชี่วชาญขนาดนั้นครับ ได้แต่บอกว่า ไปอบรมเถอะ
ตอนนี้ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชนและการจัดสวัสดิการสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2566” ขึ้นมาจำนวน 4 รุ่นด้วยกัน (เหลือ 4 รุ่นยังไม่อบรม)
รุ่นที่ 2 อุบล วันที่ 5-7 พฤษภาคม 2566 ที่โรงแรมเนวาด้า สมัครออนไลน์ที่นี่
รุ่นที่ 3 สกลนคร วันที่ 26-28 พฤษภาคม 2566 ที่โรงแรมสกลแกรนด์ สมัครออนไลน์ที่นี่
รุ่นที่ 4 อุดร วันที่ 2-4 มิถุนายน 2566 ที่โรงแรมเจริญโฮเต็ล (เปลี่ยนจากสยามแกรนด์) สมัครออนไลน์ที่นี่
รุ่นที่ 5 ขอนแก่น วันที่ 30 มิถุนายน – วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 ที่โรงแรม (กำลังประสาน) สมัครออนไลน์ที่นี่
ท่านที่สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดมาได้ที่ เหน่ง พอชอ โทร.093-329-8322 Line ID : nengporchor ได้เลยครับ ขอบคุณที่ไว้วางใจกันมาตลอด
นักพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รองประธาน ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย)
ลูกของแม่ และเพื่อนของท่าน