แนวทางการปฏิบัติงานตาม ระเบียบเบี้ยผู้สูงอายุ ฉบับใหม่ ที่กระทรวงมหาดไทยออกระเบียบมาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เป้นต้นมา ซึ่งหลายคนพอเห็นระเบียบใหม่นี้ โวยไว้ก่อนครับ HA HA
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566 กระทรวงมหาดไทย ได้ออกหนังสือกระทรวงมหาดไทย ดวนที่สุด ที่ มท 0810.6/ว 8029 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ออกมา
ในหนังสือฉบับนี้มี ระเบียบเบี้ยสูงอายุ ฉบับใหม่ และแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบฯ แนบมาด้วยครับ ซึ่งแนวทางการดำเนินงานนั้นแบ่งออกมาเป็นข้อๆ และเป็นขั้นเป็นตอนแบบนี้ครับ
ระเบียบเบี้ยผู้สูงอายุ ฉบับใหม่
ระเบียบฉบับนี้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ฉบับที่ 1 ยกเลิกฉบับที่ 2 ปี 2560 ยกเลิกฉบับที่ 3 ปี 2561 และยกเลิกฉบับที่ 4 ปี 2562 เรียกว่ายกเลิกฉบับเดิมทั้งหมด เปลี่ยนมาใช้ฉบับนี้แทน
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเบี้ยผู้สูงอายุ
ในระเบียบฉบับใหม่นี้ กำหนดคุณสมบัติของผู้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ในหมวดที่ 1 ข้อ 6 โดยเฉพาะ (4) ไว้ว่า “เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไใ่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฏหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด”
นี่ไงครับถึงทำให้ในเบื้องต้น พวกเราโดนด่า พวกเราคือคนที่ทำงานอยู่ท้องถิ่น ทำงานอยู่ อบต. เทศบาล ทั่วประเทศ เขาไม่อ่านรายละเอียดหรอกครับ ด่าไว้ก่อน ทั้งๆ ที่ในบทเฉพาะกาลเขาก็บอกไว้
คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้น ในระหว่างที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติยังไม่ได้กำหนดคุณสมบัติ ก็ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้คุณสมบัติตามระเบียบฉบับเดิมไปก่อน
การยืนยันสิทธิของผู้สูงอายุ
ในระเบียบฉบับใหม่นี้ ไม่มีคำว่า ลงทะเบียน นะครับ ใช้คำว่า ยืนยันสิทธิ แทน โดยให้ท้องถิ่นเปิดรับการยืนยันสิทธิตั้งแต่เดือนมกราคม ไปจนถึงเดือนธันวาคม แล้วก็ให้ท้องถิ่นอำนวยความสะดวก โดยการแจ้งไปยังผู้สูงอายุที่มีสิทธิ (ทั้งอายุกำลังจะถึง อายุถึง 60 แล้ว อายุเลยแล้ว หรือย้ายมาจากที่อื่นที่ยังไม่มาแจ้งเรา) ให้มายืนยันสิทธิกับท้องถิ่น
โดยมากรอกแบบยืนยันสิทธิและนำสมุดบัญชีธนาคารมาแนบด้วย ซึ่งจะเห็นว่า ในรอบนี้จะไม่มีการเรียกเก็บสำเนาบัตรประชาชนแล้วก็สำเนาทะเบียนบ้านเลยนะครับ
ถ้าหากว่าผู้สูงอายุมายืนยันสิทธิด้วยตนเองไม่ได้ ก็ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ แล้วให้คนอื่นมายืนยันสิทธิแทนได้
ทีนี้ ที่เขาบอกว่าให้ท้องถิ่นอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ โดยการแจ้งผู้สูงอายุ นั่นหมายความว่า ท้องถิ่นต้องไปขอรายชื่อผู้สูงอายุที่มีสิทธิจากสำนักทะเบียนมาเตรียมไว้นะครับ
นั่นคือสิ่งที่ท่านต้องทำก่อนเลยในเดือนกันยายน 2566 นี้
ส่วนเรื่องการจ่ายเงิน การย้าย เรามาว่ากันในตอนที่ 2
บทความที่เกี่ยวข้อง
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทำมาตั้งนานยังงงอยู่เลย
นักพัฒนาชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รองประธาน ชมรมพัฒนาชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (แห่งประเทศไทย)
ลูกของแม่ และเพื่อนของท่าน